วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

พลังแห่งเอนไซม์บำบัด

เอนไซม์บำบัด หรือเอนไซม์เสริม สามารถพลิกชีวิตของให้ท่านให้ดีขึ้นอย่างไร

เอนไซม์ คือ สารโปรตีน เป็นตัวเร่งการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทำให้เซลล์เป็นล้าน ๆ เซลล์,เนื้อเยื่อ,ของเหลว, และอวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

หากร่างกายขาดเอนไซม์หรือปริมาณเอนไซม์ลดลง
จะ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ เช่น การย่อยอาหาร การขับถ่าย การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การขจัดสารพิษของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหลอดเลือดในร่างกายไม่ปกติ

หน้าที่ของเอนไซม์
-ช่วยย่อยอาหารเพื่อให้ได้สารอาหาร
- ช่วยดูดซึมและนำพาสารอาหาร
- ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
-ช่วยเผาผลาญพลังงาน/ย่อยสลายไขมัน
-ช่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
-ช่วยป้องกันการอักเสบ/ติดเชื้อ
-ขจัดสารพิษของร่างกาย/ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
-ทำให้ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และสารอื่นทำงานตามคุณสมบัติ

 
ท่านใดที่ควรใช้เอนไซม์
-ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
-ผู้ที่ภูมิต้านทานอ่อน และมักติดเชื้อง่าย เช่นวัณโรค โรคเอดส์
-ผู้ป่วยก่อน - หลัง ผ่าตัด
-สตรีก่อน- หลังคลอด
-ผู้ที่มีประสิทธิภาพตับไม่ดี เหนื่อยง่าย เช่น ตับอักเสบ
-ผู้ทีีมีประสาทอ่อน ไม่ปกติ ตกใจง่าย เบื่ออาหาร
-ผู้ที่กระเพาะ ลำไส้ไม่ดีแต่กำเนิด ทำให้ผอมแห้ง แรงน้อย
-ผู้ที่ร่างกายแก่ก่อนวัย เจ็บป่วยบ่อย
-ผู้ที่มีอาการติดเชื้อแปลก ๆ ทำให้ร่างกายเจ็บออดๆ แอดๆ
-ผู้ที่อยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคกรรมพันธุ์เช่น มีญาติเป็นเบาหวาน
มะเร็ง ปัญญาอ่อน โรคเลือด

ทำไมต้องกินเอนไซม์

เอนไซม์เสริม (Enzyme Supplement)


ปู่ ย่า ตา ยาย มีอายุยืนยาวอยู่กันมาได้ไม่ต้องกินอาหารเสริมหรือกินเอนไซม์เสริม ถือว่าโชคดี เพราะเกิดมาในขณะที่สิ่งแวดล้อมสะอาด อาหารสด ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่มีการเติมสารเคมีให้พืชผัก ถ้าเราไปอ่านรายงานสถิติชีพของกระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลังกลับไป จะพบว่าโรคหัวใจ เบาหวาน ข้ออักเสบ และมะเร็งในสมัยนั้น แทบจะไม่มีให้เห็น ซึ่งคำว่ามะเร็งในสมัยนั้น จะเป็นคำที่แปลกประหลาดไม่เคยได้ยินมาก่อน


เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องกินเอนไซม์เสริม
ร่างกายผลิตเอนไซม์ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น

การทดลองที่โรงพยาบาลไมเคิลรีส (Michael Reese) สหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ (อไมเลส) ในน้ำลายของคนเราเมื่อวัยหนุ่มสาว (21-31 ปี) มีมากกว่าคนชรา (61-100 ปี) ถึง 30 เท่า ไม่มีปัญหาการย่อยอาหาร แต่เมื่อแก่ตัวลงกลับกินไม่ได้ เพราะเอนไซม์ย่อยอาหารเจือจางลง ทำให้อาการผิดปกติต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

การศึกษาของบาร์โตส และโกรช (Bartosและ Groh)โดยใช้ยากระตุ้นน้ำย่อยจากตับอ่อนแล้วมาวัดหาจำนวนเอนไซม์ (อไมเลส)พบว่า คนแก่จะมีเอนไซม์ออกมาน้อยกว่าคนหนุ่มสาวมาก เมตาบอลิคเอนไซม์ในเซลล์ต่างๆ ก็จะพลอยลดต่ำลงตาม ความชราก็จะปรากฎโฉมให้เห็นเร็วขึ้นเท่านั้น

ตับอ่อนของมนุษย์มีน้ำหนักเพียง 3 ออนซ์ แต่ต้องทำงานหนักตลอดชีวิต มีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า ตับอ่อนที่ผลิตเอนไซม์ก็เหมือนกับแม่พิมพ์ (Mold) ที่ใช้ปั๊มวัตถุดิบให้เป็นสินค้ารูปร่างต่างๆ เช่น ถ้วยแก้ว แม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมก็มีอายุการใช้งาน ใช้นานๆ การปั๊ม จะลด จนต้องเลิกใช้งาน ตับอ่อนก็เช่นกัน ถ้าต้องปั๊มเอนไซม์ออกมามากๆ ก็ต้องหมดอายุเช่นกัน เราจึงควรจะให้ตับอ่อนของเราหมดอายุช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประโยชน์ของสุขภาพตนเอง (The mold is good for number of copies before it has to be replaced)

การหุงต้ม การเตรียมอาหาร และการเก็บอาหารเป็นต้นเหตุที่ทำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหารทำให้อาหารที่ กินไม่มีเอนไซม์ จำเป็นต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหารที่ร่างกายต้องผลิตออกมาเองจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลือง นอกจากนี้จำนวนเอนไซม์ที่ควรจะมีในอาหารตามธรรมชาติ ก็ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากในดินไม่มีแร่ธาตุเหมือนในอดีต การใช้รังสีเพื่อถนอมอาหาร การใส่สารกันเสีย การบรรจุกระป๋อง การใช้แก๊สบ่มผลไม้ ฯลฯ ล้วนทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย จำเป็นต้องกินอาหารเสริมและเอนไซม์เสริมเพื่อชดเชย และช่วยไม่ให้ร่างกายต้องผลิตเอนไซม์เพิ่มออกมา
ทารกกินนมแม่ ได้เอนไซม์จากอาหาร (นมแม่)สมบูรณ์
นมผง นมสดที่ใช้ความร้อนทำลายเชื้อโรค นมข้นหวาน ล้วนเป็นอาหาร (ของเด็กทารก) ที่ไม่มีเอนไซม์เหลืออยู่ เป็นต้นเหตุให้มีอาหารที่ย่อยไม่หมดไปหมักหมนในลำไส้ใหญ่ เกิดสารพิษซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เด็กเจ็บป่วยง่าย มีการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กที่กินนมขวด มีอันตรายสูงกว่าเด็กที่กินนมแม่ถึง 56 เท่า

Dr.Andre Hakanson จากมหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน ค้นพบว่า ถ้าเขาเติมนมแม่ลงไปในเซลล์มะเร็งที่เพาะเลี้ยงไว้ที่เจริญงอกงามอยู่จะตาย หมด เซลล์ดีๆ จะไม่ถูกทำลายเลย และพบว่าการกินอาหารสดนี้เป็นประโยชน์เพราะมีเอนไซม์ ถ้ากินอาหารสดไม่ได้หรือไม่พอก็ควรกินเอนไซม์เสริมเข้าไปช่วย
มีตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์อยู่ในอาหารตามธรรมชาติ เป็นจำนวนมาก (Natural Enzyme Inhibitor)

อาหารที่มนุษย์กินทุกชนิดจะมีตัวห้าม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของพืชและสัตว์ที่จะควบคุมและป้องกันไม่ให้เอนไซม์ย่อย และทำร้ายตัวมันเอง หรือเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป หรือได้พาเอนไซม์ไปส่งถึงจุดมุ่งหมาย เมื่อเอนไซม์ขาดตัวควบคุมหรือขาดตัวห้าม เอนไซม์ก็จะเริ่มทำงานตามหน้าที่และบทบาทของมันอย่างสบาย

อาหารประเภทถั่วชนิดต่างๆ เมล็ดพืช ยอดผักหรือผลไม้ที่ยังอ่อน จะเป็นกลุ่มที่มีตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์อยู่มาก ดังนั้นการกินถั่วดิบๆ จึงทำให้เกิดอันตราย เพราะได้รับตัวห้ามเข้าไปมาก จนยับยั้งการทำงานหรืออาจทำลายเอนไซม์ของร่างกายได้อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น